โชว์การ์ดหนัง สื่อประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์สุดปังในวันวาน

การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับภาพยนตร์หลายคนจะรู้จักในนามของ โปสเตอร์หรือใบปิด แต่มีสื่อประชาสัมพันธ์อีกประเภทหนึ่ง คือ โชว์การ์ด มีชื่อไทยว่า หนังแผ่น เป็นการที่นำเอาภาพนิ่งของภาพยนตร์นั้น ๆ โดยการเลือกจากผู้ผลิตเพื่อมาดึงดูดผู้ชม และมีการใส่ข้อมูสังเขปของภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็น ชื่อเรื่อง บริษัทผู้ผลิต รายชื่อนักแสดง ชื่อผู้ประพันธ์(กรณีที่สร้างจากนวนิยาย) ซึ่งจะมีหลายรูปแบบและส่วนใหญ่มักจะติดตามตู้กระจกของโรงหนัง แต่ในปัจจุบันเริ่มลดความนิยมลงแล้ว เพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสะดวกสบาย โชว์การ์ดสามารถแบ่งรูปแบบได้เป็น 3 ประเภทดังนี้กับ โชว์การ์ดหนัง สื่อประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์สุดปังในวันวาน ติดตามไปพร้อมกับ nangdung.com ได้เลย
โชว์การ์ดหนัง สื่อประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์สุดปังในวันวาน
โชว์การ์ดหนังภาพขาวดำระบายสี

วิธีการทำของโชว์การ์ดหนังภาพขาวดำระบายสีจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ และมีความอุตสาหะอย่างสูง เพราะจะต้องทำจากภาพขาวดำที่เจ้าหนังเลือกมาโปรโมตภาพยนตร์ โดยการบรรจงแต้มสีลงไปจนทำให้เกิดภาพสีที่สวยงาม เกิดความแปลกตาจากภาพสีทั่วไป แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ล้ำสมัย ทำให้การลงสีในภาพขาวดำนั้นเป็นเรื่องง่าย ทำได้อย่างสะดวก ไม่ซับซ้อน ซึ่งการ์ดหนังเรื่อง กัลปังหา ออกฉายในปี 2505 ทางผู้ผลิตได้เลือกตัวอย่างในฉากที่ไปถ่ายทำถึงประเทศฝรั่งเศส, อังกฤษ และอียิปต์ เพื่อการโปรโมต โดยมีขนาดความกว้างและความยาวของการ์ด 40 x 51 ซม, 30 x 25 ซม เหมาะสมกับการผลิตจำนวนน้อย
โชว์การ์ดหนังภาพพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรส

หากต้องการผลิตจำนวนมากนี่เลย โชว์การ์ดหนังเทคนิคภาพพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรส วิธีการทำก็คือ การสอดสีหรือผสมรูปให้ออกมาเป็นสีธรรมชาติ โดยการใช้อักษรแต่ละตัวจากการหล่อตะกั่ว และรูปภาพด้วย เมื่อเวลาเดินด้วยเครื่องพิมพ์โลหะเพื่อลงบนกระดาษที่ละแผ่นจะได้ยินเสียง ฉับ-แกระ ๆ จึงมีการเรียกว่า พิมพ์ฉับแกระ นั่นเอง
วิธีการทำบล็อกรูปสำหรับการพิมแบบเลตเตอร์เพรส จะต้องเริ่มจากการพิมพ์แสงผ่านฟิล์มก่อนจากนั้นลงบนแผ่นโลหะ แล้วค่อยเอาไปกัดด้วยน้ำยาให้แม่พิมพ์นูนเรียกว่า บล็อกตะกั่วกัด หรือถ้าต้องการพิมพ์สีแบบธรรมชาติต้องบล็อก 3 สีลงบนกระดาษทีละสี ซึ่งมี 3 ที่ใช้ เช่น แดง เขียว น้ำเงิน การที่โชว์การ์ดจะมีสีสันออกมาอย่างสวยงามได้
ต้องขึ้นอยู่ความชำนาญของผู้พิมพ์บล็อกนั่นเอง แต่ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบนี้เรียกว่า การพิมพ์แบบออฟเซต ซึ่งมีความทันสมัย สีสันครบถ้วนและสวยงาม ทำให้แผ่นที่พิมพ์ออกมามีความคมชัด ประหยัดเวลา แถมไม่ยุ่งยากอีกด้วย ซึ่งโชว์การ์ดหนังเรื่อง ยอดยศพซึ่งออกฉายในปี 2503 ใช้ขนาดแผ่นในการทำ 39 x 27 ซม
โชว์การ์ดหนังทำมือ

การทำโชว์การ์ดหนังทำมือ ที่สมัยนี้หลายคนชอบเรียกว่า DIY โดยมีวิธีการคือ ผู้จัดทำจะต้องใช้เทคนิคการตัดแปะภาพขาวดำที่เป็นรูปนักแสดงบนฉากพื้นหลังที่มีการระบายสีด้วยมือแล้ว และเขียนตัวอักษรชื่อภาพยนตร์ รายชื่อนักแสดง เรียกได้ว่าเป็นของที่หายากในรุ่น Limited Edition เลยก็ว่าได้ ซึ่งโชว์การ์ดหนังเรื่อง วิมานรักสีชมภู ที่ออกฉายในปี 2505 จากผู้สร้างของบริษัท ธงชัยภาพยนตร์ ซึ่งนำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย
เรียกได้ว่า โชว์การ์ดหนังภาพ ทั้ง 3 เทคนิคซึ่งในสมัยนั้นมีวิธีการทำที่ต้องลงทุนและแรงกายอย่าง เพื่อที่จะการ์ดภาพตีพิมพ์ออกมาอย่างสวยงาม เพื่อการประชาสัมพันธ์ในฉายภาพยนตร์แต่ละเรื่อง แต่ทุกวันนี้การตีพิมพ์มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ฟังก์ชันที่หลากหลาย สีสันให้เลือกได้ทุกเฉด เมื่อเราปริ้นออกมาแล้วก็ทำให้ภาพมีความคมชัด สมจริง อีกทั้งยังลดความยุ่งยาก ซับซ้อน และประหยัดเวลาในการพิมพ์อีกด้วย และประกอบปัจจุบันโลกออนไลน์เข้ามาบทบาทกับชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น
โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่มีตัวอย่างภาพยนตร์ และเบื้องหลังการถ่ายทำผ่านแพลตฟอร์มอย่าง Youtube ซึ่งก็ตอบโจทย์หลาย ๆ คน เพราะจะได้เห็นการกระทำของตัวละครมากยิ่งขึ้น จึงไม่แปลกใจที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ในรูปแบบตีพิมพ์ก็ค่อย ๆ เลือนหายไปจากสังคม และทำให้ โชว์การ์ดกลายเป็นสมบัติที่ล้ำค่า ถึงตอนนี้หากใครมีเจ้านี่ถือว่าไม่ธรรมดาจริง ๆ ต้องนับถือเขา ซึ่งโชว์การ์ดทั้ง 3 เทคนิคในปัจจุบันได้ถูกจัดโชว์ที่หอภาพยนตร์แล้ว
แนะนำบทความที่น่าสนใจ
พาไปค้นหาความลับของ Death Waltz โน้ตเพลงเปียโนสุดสะพรึง โน้ตเพลงเปียโนแต่งโดย John Stump เขาได้ร่วมวงดนตรีออเคสตาร์ และยังชื่นชอบนักดนตรีหลายคน แต่ช่วงต้นปี 1980 เขาได้เอาคอลเล็คชั่นเพลงที่แต่งไปเพื่อตีพิมพ์อีกด้วย
